จุดเด่นสำคัญในศาสตร์แผนจีนคือ การวินิจฉัยโรคแบบองค์รวมประสานกับการรักษาด้วย หลักธรรมชาติสมดุลย์ ประกอบด้วย ปัญจธาตุ น้ำ ไม้ ไฟ ดิน ทอง, สภาวะการเปลี่ยนแปลง (ปากังเปี่ยนเจิ้ง) หยิน หยาง พร่อง แกร่ง ร้อน เย็น นอก ใน และ เส้นลมปราณทั้งหมด

         พื้นฐานแรกในการวินิจฉัย คือ การตรวจจับชีพจร (แมะ) โดยการ

ดู → ดูลักษณะการเดิน, การเคลื่อนไหว, ดูสีหน้า, ลิ้น
ดม → ดมกลิ่นในร่างกาย, กลิ่นเหงื่อ, กลิ่นปาก
ถาม → ถามอาการและตำแหน่งของโรค สาเหตุของการเกิดโรค
จับ → การตรวจจับชีพจรจากข้อมือทั้งสองข้าง

         จากนั้นวินิจฉัยตามหลักสภาวะการเปลี่ยนแปลง (ปากังเปี่ยนเจิ้ง) ประกอบกับหลักปัญจธาตุ และเส้นลมปราณในการนวดทุยหนา, ฝังเข็ม, ครอบแก้วสูญญากาศ (ป๋าควั่น) และกวาซา

ตารางแสดงหลักปัญจธาตุ และสภาวะการเปลี่ยนแปลง (ปากังเปี่ยนเจิ้ง) ในร่างกายมนุษย์

ธาตุ

น้ำ

ไม้

ไฟ

ดิน

ทอง

อวัยวะตัน

ไต

ตับ

หัวใจ

ม้าม

ปอด

อวัยวะกลวง

กระเพาะปัสสาวะ

ถุงน้ำดี

ลำไส้เล็ก

กระเพาะอาหาร

ลำไส้ใหญ่

อวัยวะรับรู้

หู

ตา

ลิ้น

ปาก

จมูก

เนื้อเยื่อ

กระดูก

เอ็น

เส้นเลือด

กล้ามเนื้อ

ขนและผิวหนัง

อารมณ์

กลัว

โกรธ

ดีใจ

คิด, กังวล

เศร้า

เสียง

คราง

ตะโกน

หัวเราะ

ร้องเพลง

ร้องไห้

สี

ดำ

เขียว

แดง

เหลือง

ขาว

ทิศ

เหนือ

ตะวันออก

ใต้

กลาง

ตะวันตก

อากาศ

หนาว

ลม

ร้อน

ชื้น

แห้ง

เวลา

ดึก

เช้า

เที่ยง

บ่าย

ค่ำ

ฤดูกาล

หนาว

ใบไม้ผลิ

ร้อน

ปลายร้อน

ใบไม้ร่วง

พัฒนาการ

สะสม

เกิด

เติบโต

เปลี่ยนแปลง

เก็บเกี่ยว

รส

เค็ม

เปรี้ยว

ขม

หวาน

เผ็ด

กลิ่น

บูด

สาบ

ไหม้

หอม

คาว

ปศุสัตว์

หมู

ไก่

แพะ

วัว

ม้า

ธัญญาหาร

ถั่ว

ข้าวสาลี

ข้าวโพด

ข้าวฟ่าง

ข้าวเปลือก

ดาวเคราะห์

พุธ

พฤหัส

อังคาร

เสาร์

ศุกร์

หมายเลข

6

8

7

5

9